รีวิว Rilakkuma and Kaoru

เมื่อปี 2003 บริษัท san-x ของญี่ปุ่นได้ผลิตตัวการ์ตูนที่ชื่อรีลัคคุมะ หรือเจ้าหมีผ่อนคลายขึ้นมา(ชื่อรีลัคคุมะมาจากคำว่า Relax ที่แปลว่าผ่อนคลาย และKuma ที่แปลว่าหมีในภาษาญี่ปุ่น) เพื่อเป็นตัวการ์ตูนที่จะทำให้คนดูที่เผชิญหน้ากับความวุ่นวายเคร่งเครียดในแต่ละวันได้รู้สึกผ่อนคลายกันบ้าง

ซึ่งรีลัคคุมะก็ได้รับความนิยมอย่างมาก จนกลายเป็นมาสค็อตในผลิตภัณฑ์ต่างๆมากมายมาจนถึงปัจจุบัน และคราวนี้เจ้าหมีรีลัคคุมะก็ได้มาในรูปแบบของอนิเมชั่นสต็อปโมชั่นชวนอารมณ์ดีด้วยซีรี่ส์ Rilakkuma and Kaoru

Rilakkuma and Kaoru เป็นเรื่องของคาโอรุ พนักงานออฟฟิศสาวโสดที่อาศัยอยู่กับเจ้าหมีรีลัคคุมะและผองเพื่อนอย่างโครีลัคคุมะ หรือโคริ (หมีสีขาว) และคิโร่ยโทริ(นกที่คาโอรุเลี้ยงไว้) โดยพวกเขาก็ต้องเผชิญกับเรื่องราววุ่นๆในแต่ละวัน

อนิเมชั่นเรื่องนี้จะพาเราไปพบกับความอบอุ่นชวนอารมณ์ดีปนซึ้งจากความน่ารักของบรรดาแก๊งค์หมีและคาโอรุ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาชวนปวดหัวในแต่ละวัน ทั้งเพื่อนผิดนัด ปัญหาความรัก โชคลาภ ซึ่งใครหลายๆคนก็น่าจะเคยประสบพบเจอกันมาบ้าง

แต่สุดท้ายแล้ว อนิเมชั่นเรื่องนี้ก็จะแสดงให้เราเห็นว่าไม่ว่าปัญหามันจะมาในรูปแบบไหน วิธีที่ดีที่สุดก็คือการผ่อนคลายกับมันซะแล้วค่อยๆแก้ปัญหาไป มากกว่าที่จะมานั่งเครียดและแบกรับปัญหาไว้บนบ่า เช่นเดียวกับคาโอรุที่สุดท้ายก็เลือกที่จะผ่อนคลายแล้วค่อยๆเคลียร์ปัญหาตามวิธีของรีลัคคุมะและผองเพื่อน แทนที่จะมานั่งแบกรับมันอย่างที่เธอมักจะทำบ่อยๆ

แม้ว่าจะมีโทนเป็นหนังเด็ก แต่Rilakkuma and Kaoru กลับมีความเป็นผู้ใหญ่อยู่พอสมควร ในขณะที่มันมีตอนเบาๆแบบการ์ตูนเด็ก แต่มันก็มีหลายตอนที่นำเสนอประเด็นปัญหาที่ค่อนข้างหนักและจริง อย่างการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกจนขาดความอบอุ่น

การเชื่อโชคลางมากเกินไปจนกระทบคนรอบข้างและตัวเอง รวมไปถึงวิญญาณและความตายกันเลยทีเดียว ทั้งหมดนี้ทำให้อนิเมชั่นเรื่องนี้มีความติดดินและสมจริงอยู่มาก แต่นั่นก็ช่วยทำให้ภาพลักษณ์ของการเป็นตัวแทนของความผ่อนคลายของเจ้ารีลัคคุมะเด่นชัดขึ้นเช่นกันเมื่อปัญหาเหล่านั้นถูกคลี่คลายลงด้วยความชิลล์ของเจ้าหมีและผองเพื่อน

พักหนังซีรีส์เครียดๆมาดูอะไรน่ารักๆเบาสมองกันบ้าง กับซีรีส์ stop motion สุดน่ารักอย่าง Rilakkuma and Kaoru ซีรีส์ใหม่โดย Netflix ที่จะเล่าถึงชีวิตของ Kaoru (คาโอรุ) สาวออฟฟิศที่มีชีวิตที่ค่อนข้างน่าเบื่อ แถมโสดอีกต่างหาก

เธออาศัยอยู่กับแก๊งหมี ที่มี Rilakkuma (รีลัคคุมะ) Korirakkuma (โครีลัคคุมะ) และ นก Kiiroitori (คิอิโรอิโตริ) ในหอพักเก่าๆแห่งหนึ่ง โดยเราจะได้เห็นความสัมพันธ์สุดน่ารักของคาโอรุและเพื่อนตัวนิ่มของเธอ สิ่งที่น่าสนใจของซีรีส์นี้คือเทคนิคการถ่ายทำที่น่าสนใจ รวมถึงรายละเอียดต่างๆกับฉากที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างพิถีพิถัน

รีลัคคุมะกับคาโอรุ เป็นซีรีส์ที่แต่ละตอนมีความยาวไม่มากนัก อยู่ที่ 10-15 นาทีโดยประมาณ และส่วนมากจะจบในตอน แต่เนื้อหาโดยรวมนั้นจะเชื่อมโยงถึงกัน ตัวละครในเรื่องนั้นจะมีบทพูดเฉพาะมนุษย์เท่านั้น ส่วนอย่างอื่นเหมือนจะพูดแต่ก็ฟังไม่ออกอยู่ดีล่ะครับ

การเล่าเรื่องจะพูดถึงชีวิตชองคาโอรุที่ต้องอาศัยอยู่กับ Rilakkuma และผองเพื่อน โดยเจ้า Rilakkuma นั้นสุดแสนจะขี้เกียจ วันๆก็เอาแต่นอนและชิล ใช้ชีวิต slow life ไปวันๆ นี่แหละสายชิลของแท้ ที่น่าสนใจคือเจ้า Rilakkuma นั้นมีความลึกลับแอบซ่อนอยู่ด้วยครับ

ถ้าใครสังเกตจะเห็นว่าตุ๊กตาหมีตัวนี้มีซิ๊ปอยู่ข้างหลัง และมันถอดชุดออกมาซักด้วยนะ ในซีรีส์เราจะได้เห็นชุดของเจ้า Rilakkuma เต็มตู้เสื้อผ้าไปหมด และมันเป็นคำถามที่หลายๆคนสงสัยว่าแท้จริงแล้วเจ้า Rilakkuma เป็นอะไรกันแน่ ทำไมมันต้องมีชุดครอบข้างนอกอีกที

ภายในชุดหมีของเจ้ารีลัคคุมะนั้นจะเป็นชุดลายจุดสีฟ้าอีกชั้น เราจะไม่ได้เห็นเจ้าหมีนี้ถอดชุดออกมาเต็มๆ แต่จะได้เห็นแว๊บๆ เพื่อคงความลึกลับของมันต่อไป แต่จากเว็บไซต์ของ Rilakkuma มันคือตุ๊กตาหมียัดนุ่นที่อาศัยอยู่กับคาโอรุ ไม่มีรายละเอียดความเป็นมาอะไรมากกว่านี้

รีวิว Rilakkuma and Kaoru 

แม้ว่าตัวละครที่เป็นของเล่นจะไม่สามารถพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เข้าใจได้ มีเพียงตัวละครมนุษย์ในเรื่องเท่านั้นที่เข้าใจพวกเขา แต่เราจะได้รับรู้เรื่องราวผ่านอากัปกิริยาต่างๆ และตัวละครที่ผมชอบที่สุดคงจะเป็นใครไม่ได้นอกจาก Koiiroitori นกเหลืองที่คลั่งไคล้ในการทำความสะอาดบ้านและมักจะอารมณ์เสียเวลาใครทำบ้านรก น่ารักน่าเอ็นดูอย่าบอกใคร (ผมเป็นแฟนคลับไปแล้วเนี่ย)

จุดเด่นของซีรีส์นี้คือการถ่ายทำด้วยเทคนิค stop motion นั่นคือการถ่ายภาพนึ่งหลายๆภาพโดยแต่ละครั้งจะต้องจัดท่าทางตัวละครเพื่อให้ได้ท่วงท่าที่เมื่อนำมาต่อกันแล้วเกิดการเคลื่อนไหวตามที่ผู้กำกับต้องการ รายละเอียดของฉาก ตัวละคร องค์ประกอบ

และเสียงเอฟเฟคทำออกมาได้ดีเลยนะครับให้บรรยากาศและอินไปด้วย ผมชอบความละเอียดของฉาก ตึกรามบ้านช่อง รวมถึงของใช้ในบ้านต่างๆที่ทำได้ละเอียดน่ารักสมกับที่เป็นงานจากญี่ปุ่น งานนี้ต้องยกความดีความชอบให้ dwarf สตูดิโอเบื้องหลังซีรีส์นี้ไปเต็มๆครับ

การถ่ายทำภาพยนตร์แบบ stop motion ให้ดูลื่นไหลนั้นไม่ใช่งานที่ง่ายเลย แม้ว่าการเคลื่อนไหวอาจจะไม่ได้ลื่นไหลมากนัก แต่ต้องยอมรับว่ารายละเอียดที่ทำออกมานั้นดีมากๆเลยครับ ลองดูภาพเบื้อหลังการถ่ายทำจากเว็บ the Japan Times จะเห็นว่ากว่าจะได้แต่ละซีนนี่เล่นเอาเหนื่อย

“10 นาทีแห่งความผ่อนคลาย” มันคือสโลแกนของซีรีส์นี้ โดยจุดประสงค์อยากให้คนดูได้ผ่อนคลาย ลืมความเครียดโดยการใช้ชีวิต slow life ไปกับ Rilakkuma มันเหมาะมากที่จะหยิบขึ้นมาดูระหว่างเดินทางกลับบ้านหลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เพราะเราไม่ต้องตั้งใจดูแบบเคร่งเครียด แค่ดูความน่ารักของตัวละครก็หายเหนื่อยแล้ว ดนตรีประกอบก็สุดแสนผ่อนคลายสบายหู ยิ่งเพิ่มความชิลเข้าไปอีกเป็นกอง

13 ตอนที่ผมดู รีลัคคุมะกับคาโอรุ นั้นนอกจากให้ความน่ารักสดใส ลืมปัญหาในชีวิตไปได้ชั่วขณะ ยังมีการสอดแทรกแนวคิดในชีวิตให้เราได้กลับไปทบทวน โดนเฉพาะชีวิตคนกรุงและสังคมในออฟฟิศที่ถึงแม้มันจะไม่ใช่จุดที่ซีรีส์เน้น แต่มันทำให้เราเห็นความคล้ายคลึงกันแม้ว่าจะต่างวัฒนธรรม โดยเฉพาะเอเชียด้วยกันเป็นอย่างดี

ดูจบผมนี่สงสาร Kaoru ขึ้นมาตะหงิดๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ซีรีส์นี้ทิ้งไว้ให้คือความประทับใจและรอยยิ้ม ผมหวังว่าจะได้เห็นซีซั่น 2 ของเจ้า Rilakkuma นี้เร็วๆนี้ ถือว่าเป็นอีกไอคอนจากญี่ปุ่นที่ Netflix เลือกได้ดีมากครับ ส่วนผม เดี๋ยวขอไปซื้อเจ้า Koiiroitori ให้มาช่วยทำความซะอาดบ้านซักตัวก่อนแล้วกัน…บาย

ดูหนังฟรี

รีวิว Rilakkuma and Kaoru 

ความรู้สึกหลังดู

สำหรับคนที่รักน้องรีลัคคุมะอยู่แล้ว คิดว่า ต้องหลงรักเรื่องราวทั้งหมด 13 ตอนนี้ที่เพิ่งเริ่มฉายไปเมื่อ 19 เมษายน 2019 ที่ผ่านมาเข้าอย่างจัง และอยากจะเข้าไปเรียนรู้โลกของญี่ปุ่นเพิ่มเติมแน่ๆ ส่วนคนที่รักญี่ปุ่นอยู่แล้ว

ต้องอยากดูต่อตอนถัดไปให้ครบทั้ง 5 ฤดู ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูฝน ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว มีเทศกาลตามแบบญี่ปุ่นให้คนดูได้อินตามและอยากจะไปใช้เวลาที่ญี่ปุ่นเหมือนอย่างที่ตัวละครทั้งหมดได้ทำกิจกรรมร่วมกันส่วนฉันที่ค่อนไปทางรักญี่ปุ่นมากกว่า บอกเลยว่า ดูจบ 13 ตอนได้ภายใน 2 วัน เพลินมาก (ให้ดูซ้ำยังได้เลย)

มันเป็นความลงตัวมากๆ ของการนำสื่อเด็กที่มีตัวละครสาววัยทำงานชาวญี่ปุ่นเข้าไปเพื่อเพิ่มทาร์เก็ต เด็กโต และสาววัยทำงาน (หรือบางทีก็แอบมีหนุ่มๆ แอบดูอยู่เช่นกัน) แน่ๆ แหละว่า Netflix นี้เป็น Production ของทางอเมริการ่วมสร้างกับทาง Dwalf animation

และจากเบื้องหลังการถ่ายทำที่เขาเปิดเผยให้ดู คนดูก็สามารถเข้าใจการทำงานแบบญี่ปุ่นได้ดีขึ้นตลอด 2 ปี มีทั้งหมด 13 ตอน แต่ละวันได้ฟุตเทจแค่ 10 วินาทีต่อวัน ถ่ายภาพประมาณ 220,000 เฟรม การถ่ายทำอย่างเดียวใช้เวลา 7 เดือน กำกับโดย โคบายาชิ มาซาฮิโตะ และเขียนบทโดย โอกิคามิ นาโอโกะ

ดูหนังใหม่

รีวิว Rilakkuma and Kaoru 

ขอเล่าถึงผู้เขียนบทผู้ทรงอิทธิพลในวงการหนังชาวญี่ปุ่นคนนี้หน่อย โอกิคามิ นาโอโกะ เธอเป็นทั้งผู้กำกับและผู้เขียนบทโดยมีผลงานล่าสุดคือ Close-Knit (2017) และผลงานที่สร้างชื่อให้กับเธอคือ Kamome Diner (2006) และ Glasses (2007)

ซึ่งเรื่องหลังนี้เองที่เธอได้คว้ารางวัลจาก The Berlin International Film Festival โดยแนวทางทำหนังของเธอถูกจัดในกลุ่มที่เรียกว่า “iyashi-kei eiga-癒し系 映画” หรือ หนังที่ทำมาเพื่อเยียวยาจิตใจ เป็นมุมมองด้านบวกสดใส กว่าหนังญี่ปุ่นอื่นๆ

“ผมอยากให้คุณดูไปพักไปแล้วกินขนมไปด้วย” เป็นประโยคหนึ่งที่ โคบายาชิ มาซาฮิโตะ ผู้กำกับได้พูดไว้

และนี่สินะ คือที่มาความน่ารักของรีลัคคุมะ (Rilakkuma) โคะริลัคคุมะ (Korilakkuma) คิอิโระอิโทริ (Kiiroitori) คือมองไปแล้วให้ความรู้สึกเอ็นดู อยากเข้าไปกอด หงึกๆ

ไอเดียที่ยอมรับว่า กระแทกใจเข้าอย่างจังเลยคือ การเริ่มต้นด้วยฉากซากุระ และประโยคเปิดที่บอกว่า ฤดู “ใบไม้ผลิมาถึงแล้วเนอะ” มันเป็นการเริ่มต้นของชาวญี่ปุ่นแท้ๆ เลย โดยสาวคาโอรุก็เป็นตัวแทนคนญี่ปุ่นที่ร่วมส่งเสริมวัฒนธรรมการโอะฮานามิได้อย่างน่ารัก

ทั้งการทำเบนโตะที่มี ทามาโงะยากิ กับดังโงะ และการเตรียมไปจองพื้นที่ปูเสื่อเพื่อนั่งชม หรือแม้แต่การชมซากุระยามค่ำคืนที่นักท่องเที่ยวที่ไปถึงญี่ปุ่นนก็ชื่นชอบกันมาก และปิดฉากตอนที่ 13 ด้วยการย้ายบ้าน เหมือนเป็นการเริ่มต้นใหม่ในชีวิตอีกครั้งซึ่งก็ตรงกับเวลาที่ซากุระกำลังเริ่มบานพอดี

รีวิว Rilakkuma and Kaoru 

และสุดท้ายคือการสื่อมุมมองบวกของความเป็นสาวออฟฟิสผ่านชีวิตประจำวันของสาวคาโอรุ มีฉากที่ฉันคิดว่าน่ารัก คือฉากที่คาโอรุตัดพ้อว่า ซากุระนี่สวยตลอดในช่วงที่ออกดอกสีชมพูฟูลบลูม ใครๆ ต่างก็อยากมาเห็นเพื่อชื่นชม ต่างกับเธอที่ถูกทิ้ง

แล้วถ้าฉันได้เป็นดอกชมพูนั้นบ้าง จะป่าวประกาศว่าฉันอยู่ตรงนี้ แต่สุดท้ายเธอก็คิดว่า แล้วถ้าได้เป็นจริงๆ จะแล้วไงต่อ ฮาาา น่ารักมาก ซึ่งก็แอบสังเกตว่า การบ่นๆ และเปรียบเทียบตัวเองกับสิ่งต่างๆ คงเป็นแบบเฉพาะของคนญี่ปุ่นนั่นแหละ บางทีคาโอรุก็เปรียบตัวเองกับซากุระบ้าง ขยะบ้าง ตลกปนน่ารักดี

รวมถึงการพูดถึงพฤติกรรมการช็อปปิ้งออนไลน์ และการไปดูดวง จนกลายเป็นสายมูเตลู ที่น่าจะคล้ายกับสาวอื่นๆ ทั่วโลก

นอกจากเรื่องราวความน่ารักเชิงแฟนตาซีแล้ว ยังมีเรื่องราวความจริงอันโหดร้ายที่คาโอรุต้องเผชิญอีก เช่น การลดเงินเดือนลง 10% และไม่มีพนักงานใหม่เพิ่ม เนื่องจากว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นตกต่ำ แต่ก็ขอให้พนักงานทุกคนตั้งใจทำงานในเวลาด้วย

เรื่องรายได้จากบริษัทญี่ปุ่นในระยะหลังมันทำให้พนักงานรุ่นใหม่ต้องปรับตัว ใช้ชีวิตที่พอเพียงมากขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งโอกิคามิ นาโอโกะ ผู้เขียนบทได้ทิ้งท้ายไว้ว่า “แต่ละวันที่เธอจัดการกับสถานการณ์ยากๆ ต่างๆ ในชีวิต แต่มันเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขเช่นกัน”

สุดท้าย ฉากที่ชอบมากที่สุดคือ ช่วงเทศกาลฤดูร้อน แล้วทีมรีลัคคุมะก็รำวงบงโอโดริ น้องเต้นพร้อมๆ กัน แล้วน่าเอ็นดูมากกก

Genres : Animation l Family

ผู้กำกับ : โคบายาชิ มาซาฮิโตะ-Kobayashi Masahito

ผู้เขียนบท : โอกิคามิ นาโอโกะ- Okikami Naoko

 รีวิวหนังออนไลน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *