รีวิว The Rescue (2022) กู้ภัยถ้ำหลวง
วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2561 นับเป็นจุดเริ่มต้นของปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง เมื่อทีมนักฟุตบอลเยาวชนและผู้ช่วยผู้ฝึกสอนรวม 13 ชีวิตหายตัวไปในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ภารกิจในครั้งนี้โด่งดังและได้รับการจับตามองจากคนทั่วโลก รวมไปถึงผู้คนจากหลากหลายสัญชาติที่เข้าร่วมปฏิบัติการในครั้งนิ้
หลายๆคนคงคุ้นเคยกับข่าวดังการช่วยชีวิตทีมฟุตบอลหมูป่าที่ติดอยู่นานเดือนเศษๆในถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จ.เชียงราย นี่จึงเป็นการเล่าเรื่องผ่านมุมมองที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ผ่านเลนส์ผ่านมุมมองของนักดำน้ำที่ต้องงัดสกิลงัดความสามารถในการทำการค้นหา เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่ต้องช่วยชีวิตคน พวกเขาต้องรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้าไม่ได้ ผ่านมุมมองของ Jimmy Chin และ Elizabeth Chai Vasarhelyi ทีมผู้สร้างสารคดีเจ้าของรางวัลออสการ์จาก Free Solo
หลังจากใช้เวลาเกือบ 3 สัปดาห์ในการกู้ภัย ทีมกู้ภัยได้ช่วยชีวิตทั้ง 13 คนได้ออกมาเป็นผลสำเร็จ ท่ามกลางความยินดีจากผู้คนทั่วโลก ภารกิจในครั้งนี้ได้เป็นเหตุการณ์ในหน้าประวัติศาสตร์ กลายเป็นกรณีศึกษาด้านการกู้ภัย และได้รับการถ่ายทอดลงในสื่อภาพยนตร์, สารคดีต่างๆ มากมาย
เวลาผ่านไปเกือบ 4 ปี ผู้ชมชาวไทยเพิ่งได้มีโอกาสรับชมสารคดีเรื่อง The Rescue ภารกิจกู้ภัย ซึ่งเป็นสารคดีที่บอกเล่าเบื้องลึกเบื้องหลังของปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในครั้งนี้โดยทีมงานจาก National Geographic ผู้ผลิตสารคดีระดับโลก โดยใช้ทีมงานผู้สร้างจากภาพยนตร์สารคดี Free Solo สารคดีดีกรีรางวัลออสการ์เกี่ยวกับนักปีนเขาสูงท้าความตายด้วยมือเปล่าที่ได้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ของไทยมาแล้ว โดยเริ่มมีการเปิดตัวสารคดีนี้ครั้งแรกในปี 2021 ที่ผ่านมา
เราต้องไม่ลืมว่าในช่วงเวลาเกือบ 3 สัปดาห์ที่เหตุการณ์จริงเกิดขึ้น คนทั่วไปจะได้รับรู้รายละเอียดที่เกิดขึ้นผ่านทางหน้าสื่อ และได้รับข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการกู้ภัยที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่ต้นจนจบมาก่อน และต่างรู้กันว่าเด็กๆ กับโค้ชที่ทุกคนต่างมีชีวิตรอดในตอนท้าย ซึ่งทั้งหมดดูเหมือนจะเป็นข้อมูลที่คนทั่วไป (จากมุมมองภายนอก) ต่างรู้อยู่แล้ว
และเพื่อแก้เกมจากเส้นเรื่องที่ทุกคนคาดเดาได้อยู่แล้ว สารคดีนี้จึงเลือกเล่า ‘รายละเอียด’ (ที่อาจจะหาฟังหรือรับชมได้ยากยิ่ง) ผ่านการสัมภาษณ์จากบรรดานักดำน้ำในถ้ำที่ได้ใช้ทักษะเฉพาะทางอันเก่งกาจที่ไม่มีใครเหมือน
ฝ่าฝันอุปสรรคที่เหมือนจะไม่มีความหวังจนพบตัวเด็กๆ ในถ้ำได้สำเร็จ ร่วมกับคำสัมภาษณ์จากทีมงานที่มีส่วนช่วยเหลือสนับสนุนทางด้านต่างๆ และภาพฟุตเทจจากเหตุการณ์จริง ซึ่งภาพตามหน้าสื่อที่เราเห็นทั่วๆ ไปมักจะตัดทอนการนำเสนอมาไม่กี่ช่วง
แต่ในสารคดีครั้งนี้คือการนำภาพฟุตเทจจากเหตุการณ์จริงในแทบจะทุกขั้นตอนการช่วยเหลือตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งผู้ชมหลายคนอาจจะเพิ่งเคยเห็นเป็นครั้งแรก ออกมาร้อยเรียงเป็นสารคดีความยาวเกือบ 2 ชั่วโมง ได้อย่างน่าติดตาม
สารคดีเรื่องนี้ได้ชูโรงนักดำน้ำในถ้ำชาวอังกฤษที่ถือเป็นหัวหอกสำคัญในภารกิจครั้งนี้อย่าง ริก สแตนตัน (Rick Stanton) และ จอห์น โวลันเดน (John Volanthen) ที่เข้ามาบอกเล่าถึงภารกิจการค้นหาเด็กๆ ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในครึ่งแรกของภาพยนตร์ โดยกว่าจะค้นพบเด็กๆ นักดำน้ำในถ้ำทั้งสองคนได้ถ่ายทอดความลึกลับ ความตื่นเต้น รวมไปถึงความน่ากลัวของการดำน้ำในถ้ำหลวง (และหมดหวังในบางช่วง) ของพวกเขา ไปได้อย่างมากแล้ว
ก่อนที่ครึ่งหลังของภาพยนตร์ จะเป็นช่วงการดำเนินภารกิจของทีม “นักดำน้ำในถ้ำที่เก่งที่สุดในโลก” ที่จะต้องท้าทายทุกขีดจำกัดของตัวเอง โดยเฉพาะ Richard Harris ซึ่งชีวิตจริงเป็นวิสัญญีแพทย์ชาวออสเตรเลียที่ต้องมาดูแลเรื่องการวางยาสลบให้กับเด็กๆ ทีมหมูป่า โดยการวางยาสลบ รวมไปถึงการดำน้ำในถ้ำที่ก่อนหน้านี้ดูเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับเขา แต่การวางยาสลบบรรดาเด็กๆ ให้หลับตลอดเกือบ 2 ชั่วโมง
พร้อมกับการพาเด็กที่หมดสติอยู่ดำน้ำไปในถ้ำพร้อมกับตัวเองซึ่งอาจจะทำให้เด็กๆ ทั้งหมดเสียชีวิตระหว่างนำตัวออกมา ถือเป็นเรื่องที่เสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง (ถึงขั้นวางแผนหลบหนีการจับกุมจากทางการไทยหากภารกิจนี้ไม่สำเร็จ)
รวมถึงสมาชิกนักดำน้ำที่ถ้ำที่เก่งที่สุดในโลกคนอื่นๆ ที่ต้องช่วยกันดำน้ำในถ้ำพาเด็กๆ ออกมาโดยวิธีเดียวกันต่างก็เผชิญกับความกลัวเช่นเดียวกันนี้ สิ่งเหล่านี้ถูกถ่ายทอดออกมาให้ภาพจริง เสียงจริง คำบอกเล่าจากบุคคลจริง (รวมกับการแสดงจำลองเหตุการณ์บางส่วน) และได้กลายเป็นเอกลักษณ์ที่น่าติดตามของสารคดีเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง
รีวิว The Rescue (2022) กู้ภัยถ้ำหลวง
แม้คำสัมภาษณ์กับภาพฟุตเทจดูเหมือนเป็นองค์ประกอบที่หาได้ตามหนังสารคดีทั่วๆ ไป แต่ความพิเศษจากในสารคดีเรื่องนี้คือเหตุการณ์การกู้ภัยครั้งประวัติศาสตร์ที่กล่าวว่าไม่มีเหตุการณ์ช่วยชีวิตครั้งใดที่เสมอเหมือน แทบทุกนาทีที่เกิดขึ้นในสารคดีเรื่องนี้คือการปะทะกับระหว่างมนุษย์และอุปสรรคที่ยากและท้าทายจากธรรมชาติ การมุ่งค้นหาวิธีที่ต้องการเอาชนะทุกความเป็นไปไม่ได้ ความท้อแท้ระหว่างทางที่เกิดขึ้น
อุปสรรคที่เพิ่มขึ้นจากความเห็นที่ไม่ตรงกัน ความไม่มั่นใจ ความหวาดกลัวอันตราย ฉากทัศน์แห่งความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น รวมไปถึงความเศร้าโศกเสียใจต่อชะตาชีวิตของบรรดาญาติของเด็กๆ ที่ต้องติดอยู่ถ้ำหลวง
อย่างไรก็ตาม ความดีงามของมนุษย์ที่ต้องการฝ่าฝันอุปสรรค เพื่อให้กลุ่มคนเล็กๆ มีชีวิตรอดต่อไป กลายเป็นแนวคิดที่ผลักดันให้ทุกความ “เป็นไปไม่ได้” กลายเป็น “เป็นไปได้” ขึ้นมา จนทำให้ภารกิจครั้งนี้ประสบความสำเร็จ ชุดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในครั้งนี้จึงมีความสนุกและเร้าอารมณ์ผู้ชมได้ดี หรืออาจจะเหนือกว่าภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องแต่งเสียอีก
ด้วยความที่ชื่นชอบสารคดี Free Solo เป็นการส่วนตัวและคิดว่า เมื่อมาทำเรื่องราวใกล้ตัวกับคนไทยมันจะออกไปในทิศทางไหนกันแน่ พอดีแล้วรู้สึกว่ามันกลายเป็นมากกว่าหนังสารคดีทั่วไป หนังหยิบมุมมองการเล่าเรื่องจากนักดำน้ำต่างชาติเป็นหัวใจหลัก และหยิบหลากๆสิ่งหลายๆอย่างที่คนไทยไม่เคยรู้มาก่อนในระหว่างทำภารกิจกู้ภัยในถ้ำหลวง ผ่านมุมมองของนักประดำน้ำ ผู้เชี่ยวชาญระดับโลก นำทีมโดย Rick Stanton, John Volanthen
ที่ลงพื้นที่และคลุกคลีเป็นอาสาสมัครช่วยค้นหาเด็ก ๆ ในภารกิจนี้ พวกเขามาแบบไม่ได้รับความช่วยเหลืออะไรมากมายเพราะทางการไทยก็ตั้งตัวไม่ถูกกับสิ่งที่เกิดขึ้น แน่นอนว่าการมาถึงของพวกเขามันทำให้พวกเขาประหลาดใจ ไม่ว่าจะเป็นการต้อนรับจากคนไทยที่ยกยอพวกเขาเกินจริง ทำอย่างกับพวกเขาเป็นวีรบุรุษ หนังหยิงมุมมองที่พวกเขาลงพื้นที่และเจอมุมมองความเชื่อทัศนคติแบบไทย หรือการทำงานที่ยากลำบากเพราะสภาพน้ำในถ้ำที่มันเชี่ยวและขุ่น ความไม่พร้อมการทำงานที่ตึงเครียดแถมยังต้องแข่งกับเวลาอีกพลาดไม่ได้เด็ดขาด
ความรู้สึกหลังดู
นอกเหนือจากบรรดานักดำน้ำ ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ลืมที่จะกล่าวถึงบรรดาผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในเหตุการณ์ครั้งนี้ในทุกส่วน ซึ่งทำให้เราได้รู้ว่าภารกิจครั้งนี้ประสบความสำเร็จจากทักษะความร่วมมือของผู้ที่มีใจพร้อมจะช่วยเหลือ เปรียบเสมือนจิ๊กซอว์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ต่อรวมออกมาเป็นภาพแห่งความสำเร็จ และสารคดีมีการเล่ารายละเอียดเหตุการณ์ที่เสริมให้สารคดีเรื่องนี้มีมิติมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเรื่องของครูบาบุญชุ่มของคนไทย การทำงานในแบบราชการไทยระหว่างดำเนินภารกิจช่วยเหลือ (ซึ่งสารคดีเรื่องนี้เลือกที่จะพูดถึง แต่ไม่ได้ไปในเชิงลบเสียทีเดียว) ความรักของนักดำน้ำ ริก สแตนสัน ซึ่งเกิดขึ้นไม่นานก่อนภารกิจจะเริ่มขึ้น ก็มีส่วนเซอร์ไพร์สผู้ชม (ชาวไทย) ได้นิดๆ และเรื่องราวของ “จ่าแซม” นาวาตรีสมาน กุนัน ที่ได้สละชีพในภารกิจในครั้งนี้ สารคดีเรื่องนี้ก็ได้ให้พื้นที่ในการพูดถึงมากพอสมควร และนั่นทำให้เรื่องราวของจ่าแซมผู้เสียสละในครั้งแรกเป็นที่รับรู้ของผู้ชมทั่วโลก
หากจะสกัดถึงแนวคิดที่ได้จากภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ ผู้เขียนมองว่าเป็นเรื่องของพยายามที่จะทำลายทุกขีดจำกัด และการที่เหตุการณ์ช่วยชีวิตนี้ “ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน” ไม่ได้หมายความว่ามัน “เป็นไปไม่ได้” และหากเรามีแผนรับมือที่ชัดเจนร่วมกับแนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เป็นรูปธรรม พร้อมไปกับการปฏิบัติการอย่างรัดกุม เมื่อรวมกับทักษะเฉพาะทางของคนที่มีใจช่วยเหลือ และจิตใจที่มุ่งมั่นไม่ยอมแพ้ ปาฏิหาริย์แห่งชีวิตย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ
ดังเนื้อเพลงท่อนหนึ่งของเพลงประกอบภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ที่ชื่อว่า Believe ของ Aloe Blacc ที่ดังออกมาหลังจากที่เราได้อิ่มเอมความดีงามที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์ตลอดทั้งเรื่องแล้วว่า
You’ve gotta believe, believe, believe
That anything is possible
คุณต้องมีความเชื่อ ว่าทุกสิ่งนั้นเป็นไปได้
หนังนำเสนอภาพการเล่าเรื่องด้วยฟุตเทจที่ไม่เคยมีใครเห็นมาก่อน เราจึงได้รู้ได้เห็นว่า มีคนไปติดอยู่ในถ้ำอีก 4 คน แล้วอพยพออกไม่ได้เพราะน้ำขึ้นสูง ไม่มีใครรู้เลย จนทีมดำน้ำต่างชาติมาเจอ หรือการที่ได้พบได้เห็นทัศนคติคนทำงานด้วยกันที่คิดว่าตัวเองเก่งมากเก่งกาจที่จะทำภารกิจนี้ได้เองโดยไม่พึ่งพาผู้อื่น เคสที่มีคนติด 4 คนเป็นผู้ใหญ่ทำให้เรารับรู้ว่าการช่วยเหลือการเอาพวกเขาออกมานั้นง่ายดายกว่าเด็กน้อยอีก 12 ชีวิตค่อนข้างมาก
เพราะเคสแบบนี้ใช้เวลาไม่เท่าไหร่ก็ช่วยเหลือได้เลย แต่เด็กๆนั้นอายุน้อยเผชิญหน้ากับความยากลำบาก การดำน้ำไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่คนทั่วไปทำกันได้ ภารกิจการช่วยเหลือในครั้งนี้มันเลยเป็นงานที่สาหัสมาก ลำพังแค่ช่วยเหลือคนก็เหนื่อยยากพอแล้ว แถมต้องมาวางแผนกันอย่างรอบคอบเพราะถ้าหากพลาดมาภารกิจล้มเหลวอาจหมายถึงชีวิตผู้อื่นที่ต้องล้มตายไปด้วย การทำงานกับคนไทยเลยกลายเป็นเรื่องยากของพวกเขา เนื้อหาเผยถึงภาพเบื้องหลังการทำงานที่มันต้องไปในทิศทางเดียวกัน
หมวดหมู่ : Documentary
สัญชาติ : American
กำกับโดย : Jimmy Chin, Elizabeth Chai Vasarhelyi
ความยาว : 1 ชั่วโมง 47 นาที
นักแสดงนำ : Rick Stanton, John Volanthen, Richard Harris
โดยสรุปนี่เป็นหนังสารคดีที่สนุกจนเหมือนหนังบันเทิง ทั้งเพิ่มมุมมองต่อเหตุการณ์ถ้ำหลวงได้ลึกอย่างเฉียบแหลมไม่ตำหนิหรือแสดงท่าทีกล่าวโทษใคร แต่เกิดการเรียนรู้ร่วมกันบนสามัญสำนึกแบบพลเมืองโลกที่ไม่แบ่งด้วยเส้นแบ่งดินแดง และคนที่ดูเรื่องนี้แล้วน่าจะเครียดก็น่าจะมีแค่บรรดาผู้สร้างหนังคนแสดงที่จะอิงจากเหตุการณ์เดียวกันนี้ที่จะตามฉายมาทีหลังนี่ล่ะ เพราะให้สมจริงอย่างไรก็สู้ความจริงได้ยาก แล้วหนำซ้ำเจ้าหนังใช้ภาพจริงเรื่องนี้ดันเร้าอารมณ์ดูสนุกเหมือนหนังบันเทิงอีกต่างหาก เชียร์ให้ดูครับ
เราชอบการดำเนินเรื่องที่เล่าเรื่องได้เห็นมุมมองของคนที่ทำงานหน้างานที่ไม่เคยมีใครรับรู้เห็นมาก่อน รายละเอียดในหนังที่อาศัยเรื่องราวการทำงานที่ต้องร่วมมือร่วมใจกันของทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติรายละเอียดปลีกย่อยมากมาย ที่สำคัญคือการหยิบธรรมเนียมแบบไทยๆใส่ลงไปในหนัง ตำนานถ้ำนางนอนที่เป็นความเชื่อของชาวบ้าน ถูกนำเสนอในรูปแบบแอนิเมชั่นที่มีงานภาพงดงาม ทำออกมาเข้าใจง่าย
สารคดีนี้ค่อนข้างเก็บรายละเอียดออกมาได้หมด แม้จะมีเวลาสั้นๆไม่ถึง 2 ชั่วโมง แต่ส่วนตัวแล้วค่อนข้างทำออกมาได้เห็นมุมมองที่แปลกใหม่จากหน้าข่าวที่เราเคยเห็นค่อนข้างมาก หนังใช้ความเป็นธรรมดาเล่าเรื่องผ่านมุมมองของคนทำงานหน้างานที่เสี่ยงตายแทบทุกวินาทีมาเล่าได้อย่างเข้าอกเข้าใจ แถมการเล่าเรื่องสร้างอารมณ์ความกดดันกับเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้าได้ดีมาก กลายเป็นหนังดีน่าดูในช่วงสุดสัปดาห์นี้ที่เราเชียร์ให้ดูกันเยอะๆมาก เพราะมันใกล้ตัวกับคนไทยนี่แหละ